โครงการทุนสนับสนุนโครงงานปริญญาตรี เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคณะใน มจพ.
อุทยานเทคโนโลยี มจพ.

ขอแสดงความยินดีกับทั้ง 12 ทีม

- 1. การประมาณโครงสร้างด้วยทอพอโลยี
- 2. Smart Sigh Glove” Innovative Glove for Real-time Sign Language Translation
- 3. Safety issues of the seatbelt extender devices, according to TIS and UN Regulation
- 4. Sustainable Living Solutions Advancing EV Infrastructure, Local Product Accessibility, and Digital Connectivity
- 5. รถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติสำหรับขนส่งของในโรงพยาบาล
- 6. การพัฒนาระบบจัดการความร้อนแบเตอรี่บนพื้นฐานของระบบอัดไอแบบเครื่องระเหยคู่โดยใช้อีเจคเตอร์เป็นอุปกรณ์ลดความดันเพื่อการประหยัดพลังงานและความปลอดภัยในยานยนต์ไฟฟ้า
- 7. การเคลือบพื้นผิวชิ้นงานเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชด้วยพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหการแบบใช้แล้วทิ้ง
- 8. การสร้างสัญญาณ PWM เพื่อควบคุมอินเวอร์เตอร์ 3 เฟส 3 ระดับ
- 9. ออกแบบวงจรกรองสัญญาณรบกวน EMI สำหรับ PFC คอนเวอร์เตอร์
- 10. โมบายแอปพลิเคชันสำหรับประเมินโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจภายใน 10 ปี
- 11. Materials Design and Modeling of 3D-Printed PLA Matrix Composite Reinforced by iron Particles for Biomedical application
- 12. วัสดุโลหะโครงข่ายอินทรีย์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพขั้วอากาศของแบตเตอรี่สังกะสี – อากาศ
โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน
- 1. การประมาณโครงสร้างด้วยทอพอโลยี
- 2. Smart Sigh Glove” Innovative Glove for Real-time Sign Language Translation
- 3. Safety issues of the seatbelt extender devices, according to TIS and UN Regulation
- 4. Sustainable Living Solutions Advancing EV Infrastructure, Local Product Accessibility, and Digital Connectivity
- 5. รถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติสำหรับขนส่งของในโรงพยาบาล
- 6. การพัฒนาระบบจัดการความร้อนแบเตอรี่บนพื้นฐานของระบบอัดไอแบบเครื่องระเหยคู่โดยใช้อีเจคเตอร์เป็นอุปกรณ์ลดความดันเพื่อการประหยัดพลังงานและความปลอดภัยในยานยนต์ไฟฟ้า
- 7. การเคลือบพื้นผิวชิ้นงานเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชด้วยพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหการแบบใช้แล้วทิ้ง
- 8. การสร้างสัญญาณ PWM เพื่อควบคุมอินเวอร์เตอร์ 3 เฟส 3 ระดับ
- 9. ออกแบบวงจรกรองสัญญาณรบกวน EMI สำหรับ PFC คอนเวอร์เตอร์
- 10. โมบายแอปพลิเคชันสำหรับประเมินโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจภายใน 10 ปี
- 11. Materials Design and Modeling of 3D-Printed PLA Matrix Composite Reinforced by iron Particles for Biomedical application
- 12. วัสดุโลหะโครงข่ายอินทรีย์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพขั้วอากาศของแบตเตอรี่สังกะสี – อากาศ
โครงการสำรอง (Waiting Lists) กรณีมีทุนสนับสนุนเพิ่มเติม (เรียงตามลำดับ)
- 1. Monitoring Electric Vehicle Status on Mobile Application
- 2. ระบบแนะแนวการศึกษาด้วยจักรกลสนทนาอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างการรับรู้และการประชาสัมพันธ์ (The Education Recommendation System with AI Chatbot to Enhance Awaerness and Publice Relations)
- 3. IOT Gateway Platform
- 4. การทำนายสัมบัติน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้จากกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ ด้วยปัญญาประดิษฐ์
- 5. การออกแบบและประยุกต์ใช้โครงข่าย 5G สำหรับระบบ IoT

มหาวิทยาลัยเทคโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมีหน่วยงานระดับคณะที่ดำเนินการเรียนการสอนและวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งมีศักยภาพและความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในการร่วมมือระหว่างคณาจารย์ในคณะต่างๆ อันจะทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่กว้างขวางในมจพ. และทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมใช้งานทรัพยากรบุคคล เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องปฎิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้มีการริเริ่มที่จะสร้างกลไกหรือกิจกรรมส่งเสริมให้คณาจารย์ต่างคณะทำงานโดยผ่านการร่วมดูแลให้คำปรึกษาโครงงานระดับปริญญาตรีร่วมกัน
โครงการจะจัดสรรทุนสนับสนุนให้แก่โครงงานระดับปริญญาตรีที่สมัครเข้าร่วมโครงการและผ่านการคัดเลือกเป็นจำนวนเงินโครงการละ 25,000 บาท โดยต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกันมากกว่าหนึ่งคณะขึ้นไป โดยรับสมัครจากทุกคณะในมจพ. การพิจารณาคัดเลือกจะดำเนินการโดยคณะกรรมการ โดยคัดเลือกจากเนื้อหาของบทคัดย่อหนึ่งหน้า A4 โดยจะให้การพิจารณาเป็นพิเศษแก่โครงการที่เป็นความความร่วมมือของกลุ่มคณาจารย์ที่ไม่เคยมีความร่วมมือกันมาก่อน หรือมีหลายคณะที่มีส่วนร่วมในโครงการ หรือเป็นหัวข้อวิจัยที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ โดยถือการตัดสินของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด โดยทุนที่ให้เป็นทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ วัสดุ หรือ ครุภัณฑ์ โดยเป็นการจ่ายตรงกับสมาคมศิษย์เก่า มจพ.ฯ
ศาสตราจารย์ ดร. นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล (หัวหน้าโครงการ)
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภดล วิวัชรโกเศศ (เลขานุการโครงการ)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อุทยานเทคโนโลยีผู้แทนจากหน่วยงานและคณะ
- 1. อุทยานเทคโนโลยี
- 2. สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- 3. บัณฑิตวิทยาลัย
- 4. คณะวิศวกรรมศาสตร์
- 5. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
- 6. วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- 7. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- 8. คณะวิทยาศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- 9. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
- 10. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
- 11. บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
- รับสมัครผลงาน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566
- การนำเสนอโครงการและการคัดเลือก 1 -15 กรกฎาคม 2566
- ประกาศผลการคัดเลือก 31 กรกฎาคม 2566
- จ่ายทุนงวดแรกจำนวน 15,000 บาท ในเดือนสิงหาคม 2566 และงวดที่สอง จำนวน 10,000 บาทภายหลังจากส่งผลงานเป็นโปสเตอร์และวิดีทัศน์ ในช่วง มกราคม – เมษายน 2567
- เป็นโครงงานปริญญานิพนธ์ที่ดำเนินการโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากส่วนงานระดับคณะใน มจพ. ที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปีการศึกษา 2566 (สามารถเริ่มโครงการมาก่อนในภาคการศึกษา 2/2565 ได้)
- เป็นโครงงานที่มีคณะอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดูแลโครงงาน มาจากมากกว่าหนึ่งคณะหรือส่วนงานขึ้นไป
- ให้อาจารย์ที่ปรึกษาหลักเป็นผู้กรอกใบสมัครและให้ข้อมูล พร้อมทั้ง Upload ไฟล์บทคัดย่อ (.doc) ที่มีชื่อหัวข้อ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาทั้งหมด และชื่อนักศึกษาทั้งหมด บทคัดย่อและรูปประกอบหนึ่งรูป ความยาวหนึ่งหน้า A4 โดยใช้ Google form จากปุ่ม Register Here ด้านบน (ดูตัวอย่างบทคัดย่อ คลิกที่นี่)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภดล วิวัชรโกเศศ
รองผู้อำนวยการอุทยานเทคโนโลยี
E-mail: nophadon.w@eng.kmutnb.ac.th
โทรศัพท์ 087 680 4874
