งานทรัพย์สินทางปัญญา
อุทยานเทคโนโลยี มจพ.
1.หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นสถาบันอุดมศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมเพื่อสังคมและประเทศชาติ โดยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการกิจกรรมควบควบคูไปกับพันธกิจด้านการ เรียนการสอน การวิจัยและพัฒนา การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธธรรม โดยมุ่งเน้นให้ นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยได้คิดค้น สร้างสรรค์ ผลิตผลงานหรือพัฒนากระบวนการเพื่อ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้ผลิตผลงานเพื่ออุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง จากผลการ ประเมินศักยภาพและผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมีศักยภาพ อยู่ในกลุ่ม 2 คือ กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology and Innovation) ซึ่ง สอดคล้องกับเป้าหมายพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่เน้นสร้างเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้แก่ประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีแผนการผลักดันการสร้างนวัตกรรมไปสู่เชิงพานิชย์แบบครบวงจร ซึ่งมหาวิทยาลัยมี ความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดระบบดังกล่าวโดยจัดตั้งอุทยานเทคโนโลยี มจพ. ขึ้น โดยมีภารกิจด้านการ พัฒนานวัดกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องดำเนินการครอบคลุมการพัฒนามหาวิทยาลัยทั้ง 3 วิทยาเขต ตามความ เหมาะสมและบริบทของแต่ละพื้นที่ และเป็นหน่วยงานกลาง (One Stop Service) ที่เป็นศูนย์รวม ประสานงานการให้บริการวิชาการ งานวิจัยระดับสูง (Advance Research) และพัฒนานวัตกรรมเพื่อ อุตสาหกรรมที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมถึงเป็นศูนย์รวมในการพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันอุทยานเทคโนโลยี มจพ. แบ่งหน่วยงาน ออกเป็น 1 สำนักงาน และ๔ กลุ่มภายใน คือ (1) กลุ่มอำนวยการ (2) อุทยานเทคโนโลยี มจพ. กรุงเทพฯ (3) อุทยานเทคโนโลยี มจพ. ปราจีนบุรี และ (4) อุทยานเทคโนโลยี มจพ. ระยอง แต่ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ เกี่ยวการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมการนำงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม เข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพัฒนาต่อยอยอด ไปสู่เชิงพาณิชย์
ทั้งนี้ จากพันธกิจการผลักดันการนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีออกสู่เชิงพาณิชย์ งานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา งานสร้างระบบนิเวศน์นวัตกรรมและงานส่งเสริม ความเป็นผู้ประกอบการจึงเป็นกลไกสำคัญเพื่อเชื่อมโยงผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัย สู่ความต้องการของภาคเอกชน เพื่อเป็นกลจักรสำคัญในการพัฒนาประเทศสู่การใช้นวัตกรรมชั้น สูง รวมถึงมุ่งสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษา บุคลากร และผู้ประกอบการ โดยมุ่งหวังให้เกิด ระบบนิเวศน์นวัตกรรม สอดคล้องตามแนวทางของแผนด้านการอดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของ ประเทศ กอปรกับมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ซึ่งถือว่ามหาวิทยาลัยเป็นผู้รับทุน จะต้องดำเนินการตามกลไกการบริหารจัดการผลงานวิจัยและ นวัตกรรม และอุทยานเทคโนโลยี มจพ. ซึ่งมีภาระงานที่จะต้องกำกับดูแลงานบริหารหารทย์สินทางปัญญาและ การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งรับโอนภาระงานจากสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดังนั้น อุทยานเทคโนโลยี มจพ. จึงเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการผลัผลักดันภารกิจ ดังกล่าวให้สำเร็จตามเป้าหมายของการจัดตั้งอุทยานเทคโนโลยี มจพ. การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยตามแผน ยุทธศาสตร์ มจพ. ระยะ 20 ปี และสอดคล้องต่อการพัฒนาการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ตามเจตนารมย์ให้เกิด ผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจน จึงขอเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานภายในสำนักงาน บริหารอุทยานเทคโนโลยี โดยขอเสนอจัดตั้ง "กลุ่มบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและพัฒนาความเป็น ผู้ประกอบการ (Intellectual property service and startup alliance acceleration center)" โดยมี ภาระงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (Technology Licensing Office : TLO) และงานบ่มเพาะและเร่ง การเจริญเติบโตวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator : UBI) ของมหาวิทยาลัย เพื่อเอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.วัตถุประสงค์
1) เพื่อเป็นหน่วยงานบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
2) เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง (One Stop Service) ที่เป็นศูนย์รวมประสานงานการให้บริการวิชาการ งานวิจัยระดับสูงและพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
3) เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการและเป็นศูนย์รวมประสานงานการให้บริการวิชาการ งานวิจัยระดับสูง และพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
4) เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะพันธมิตรอุตสาหกรรมระหว่าง สถาบันการศึกษา ภาครัฐและเอกชน
5) เพื่อเป็นการผสมผสานระหว่างความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม
3.ภาระงาน
1) บ่มเพาะผู้ประกอบการพื้นฐานนวัตกรรมจากนักศึกษา บุคลากรและบุคคลภายนอก
2) บริหารจัดการวางแผนใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
3) ประเมินและติดตามการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญา อันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
3.ภาระงาน
1) บ่มเพาะผู้ประกอบการพื้นฐานนวัตกรรมจากนักศึกษา บุคลากรและบุคคลภายนอก
2) บริหารจัดการวางแผนใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
3) ประเมินและติดตามการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญา อันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
4.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เป็นศูนย์กลางการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย และการใช้ประโยชน์
2) เกิดการนำงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพ
3) เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่มีพื้นฐานนวัดกรรม เพื่อพัฒนาประเทศสู่สากล
4) เกิดระบบนิเวศน์นวัตกรรมเชื่อมโยงทั้งในมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย นักศึกษา บุคลากร และภาคเอกชน
5) สนับสนุนการบริหารจัดการด้านนวัตกรรมและการส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้ครอบคลุมทุกพันธกิจ
สอบถามข้อมูลติดต่อ กลุ่มบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
โทร 02-555-2000 ต่อ 1762 / 1763 / 1764 / 1767 / 1781
อีเมล mingkhwan.m@technopark.kmutnb.ac.th / thanawin.k@technopark.kmutnb.ac.th