สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย - ฝรั่งเศส
THAI-FRENCH INNOVATION INSTITUTE
ข้อมูลหน่วยงาน

THAI-FRENCH INNOVATION INSTITUTE
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อเป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ภาครัฐและเอกชนประเทศฝรั่งเศส เพื่อถ่ายทอดความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศให้กับอุตสาหกรรมไทย รวมถึงบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ด้วยการวิจัย ฝึกอบรม ด้านการตรวจสอบและทดสอบตามมาตรฐานสากล ด้วยการผสานการอบรมระยะสั้นเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนภาคปกติ การอบรมและฝึกฝีมือให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การสนับสนุนห้องปฏิบัติการพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อพัฒนางานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก และการสนับสนุนการบริการทดสอบ ตรวจสอบ ให้กับนักวิจัยและภาคอุตสาหกรรม
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ได้ให้การสนับสนุนบุคลากรและนักศึกษา มจพ. ในเรื่องของเครื่องมือ และห้องปฏิบัติการในการเรียนการสอน เช่น การพัฒนานักศึกษาและบุคลากรให้มีทักษะความรู้ในการปฏิบัติการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก วิชาโครงงานนักศึกษา รวมถึงสนับสนุนอาจารย์ในภาควิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยในการดำเนินการวิจัย ฝึกอบรม ดูงาน และยังเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลในหลาย ๆ มาตรฐานอาทิเช่น ISO9001 ISO17025 ห้องปฏิบัติการทดสอบส่วนผสมทางเคมี และ มาตรฐานบุคลากรด้านการเชื่อมสากล ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการนำเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมมาเผยแพร่แก่นักศึกษาในชั้นเรียน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้คณาจารย์ได้มีโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถให้เป็นปัจจุบัน
นอกจากนี้ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ยังเป็นหน่วยงานเชื่อมโยงให้บุคลากรและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับบัณฑิตศึกษาโดยเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็งร่วมกับ University of Lorraine และนำไปสู่การลงนามความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรปริญญาเอกร่วมกัน และการจัดการศึกษาประเภท Dual-degree ซึ่งส่งผลให้ให้มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรระดับสากลที่มีคุณภาพสูง และสร้างกิจกรรมที่มุ่งเน้นความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยในหลายๆด้าน
พันธกิจหลัก
- เป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติงานและวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- ฝึกอบรมช่างเทคนิควิศวกรครูช่างและนักศึกษาสถาบันอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศและประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
- ส่งเสริมในด้านเครื่องมือและวิศวกรรมที่นำสมัยรวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการฝึกอบรมสาธิตหรือวิจัย
- เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาด้านเทคนิคให้กับภาคอุตสาหกรรม
การรับรองมาตรฐานสากล
ระบบการบริหารงานและห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของ มจพ.
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศสได้เล็งเห็นความสำคัญในการให้บริการแก่ลูกค้าแบบมืออาชีพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลจึงได้นำระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 มาใช้ในการบริหารงานและมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถในการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมสากล (IIW) ให้เป็นหน่วยฝึกอบรม (ATB) แห่งแรกของประเทศไทยภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (WIT) โดยดำเนินงานตามข้อกำหนดและมาตรฐาน ISO 17024
1. การดำเนินงานด้วยระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศสมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างและพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่องโดยมีการนำระบบคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 มาใช้ในการบริหารงานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 และในปัจจุบันสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 ใบรับรองมีอายุ 3 ปี เริ่ม 27 มี.ค.พ.ศ. 2561-28 มี.ค. พ.ศ. 2564 โดยมีขอบข่ายระบบบริหารงานคุณภาพ ได้แก่ การบริการวิชาการด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการด้านการฝึกอบรม การบริการวิชาการงานวิจัย การบริการวิชาการตรวจสอบและทดสอบ การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา การออกแบบและผลิตโดยมีนโยบายคุณภาพ “เป็นผู้นำด้านการบริการวิชาการและงานวิจัยด้านเทคโนโลยีในระดับสากล” อีกทั้งยังได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเพื่อการดำเนินงานและรักษาระบบคุณภาพตลอดจนการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องทั้งองค์กร
2. การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการทดสอบได้รับการรับรองตามมาตรฐาน มอก. 17025-2548 (ISO/IEC 17025 : 2005)
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศสได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.17025-2548 (ISO/IEC 17025 : 2005) ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบหมายเลขการรับรองเลขที่ทดสอบ 0374 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยได้การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาโยธาในส่วนการทดสอบส่วนผสมทางเคมีของวัสดุด้วยวิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E415 : 2008 และขณะนี้อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนมาตรฐานเข้าสู่มาตรฐาน มอก.17025 – 2560 (ISO/IEC 17025 : 2017
หน่วยงานภายใน
- ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อม
ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อมได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท L’AIR LIQUIDE ในด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทุนฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการจัดฝึกอบรมร่วมกับ Institut de Soudure เพื่อการผลิตวิศวกรการเชื่อมและนักเทคโนโลยีการเชื่อมให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย ปี พ.ศ. 2544 ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อมได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (Welding Institute of Thailand, WIT) ให้มีสิทธิ์จัดฝึกอบรมในหลักสูตรสาขาวิศวกรรมงานเชื่อมในระดับต่าง ๆ ตามข้อกำหนดของสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding, IIW) ซึ่งมี 70 ประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิกและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรการเชื่อมสากล ผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมสากล ผู้ปฏิบัติการเชื่อมสากล ผู้ตรวจสอบงานเชื่อมสากล นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย เช่น การตรวจสอบโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงโดยอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 9712 อีกทั้งยังมีงานบริการทดสอบตรวจสอบและสอบเทียบ งานบริการด้านการให้คำปรึกษา การจัดทำเอกสารรับรองระบบคุณภาพทางด้านงานเชื่อม เป็นต้น - ฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและพลังงาน
ฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและพลังงานได้ให้บริการวิชาการทางด้านการเรียนการสอน และฝึกอบรม ตรวจสอบ ทดสอบ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงานให้กับภาคอุตสาหกรรมเพื่อแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าต่าง ๆ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของการสูญเสียพลังงานตามมาตรการการควบคุมและอนุรักษ์การใช้พลังงาน มาตรการประหยัดพลังงาน และการตรวจวัดพลังงาน นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับบริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด จัดฝึกอบรมหลักสูตรการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา และการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร
ปัจจุบันฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและพลังงานได้รับการรับรองจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 (กทม.) ให้จัดตั้งเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเพี่อดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในสาขาช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 สาขาช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1 และช่างควบคุมด้วยระบบโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ PLC Control Technician (Programmable Logic Controller : PLC) - ฝ่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อน
ฝ่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อนได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม UGINE และบริษัท Thainox เป็นกลุ่มบริษัทผลิตเหล็กสเตนเลสรายใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส และประเทศไทยในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนางานวิจัยสาขาการกัดกร่อนโดยวิธีเทคนิคเคมีไฟฟ้าและได้สนับสนุนทุนฝึกอบรมบุคลากรทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ Institut National Polytechnique de Toulouse (INP Toulouse)และ Institut National Polytechnique de Grenoble (INP Grenoble) และในปี พ.ศ. 2549 ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) และบริษัท TOTAL E&P Thailand เพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบสารยับยั้งการกัดกร่อน (Inhibitor) ซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในไทย และแห่งที่ 4 ของโลกเ เพื่อให้บริการการทดสอบสารยับยั้งการกัดกร่อนที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถรองรับการทำวิจัยขั้นสูงทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ฝ่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อนยังมีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และตรวจสอบปัญหาการกัดกร่อนของโลหะในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่นอุตสาหกรรมผลิตแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกอุตสาหกรรมกระป๋องบรรจุอาหาร เป็นต้น อีกทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอร์ตาร์ควบคุมการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีตมาตรฐานเลขที่ มอก. 3029 - 2563 - ฝ่ายระบบการผลิตอัตโนมัติ
ฝ่ายระบบการผลิตอัตโนมัติได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) โดยให้การสนับสนุนในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการ Programmable Logic Controller (PLC) โดยการสนับสนุนเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมด้านระบบการผลิตอัตโนมัติ การจัดการด้านพลังงาน รวมถึงซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ ตลอดจนซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน พร้อมทั้งส่งบุคลากรมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับบุคลากรของฝ่ายระบบการผลิตอัตโนมัติ เพื่อให้ฝ่ายได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษา อาจารย์ ตลอดจนบุคลากรของภาคอุตสาหกรรม ทั้งในรูปแบบของบริการฝึกอบรม งานบริการการเรียนการสอน งานบริการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา ตลอดจนงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การประปาส่วนภูมิภาคและหน่วยงานอื่นอีกมากมาย ด้านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ได้แก่ Institute National Polytecnique de Grenoble (INP Grenoble)เพื่อพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับเครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและแลกเปลี่ยนนักวิจัยระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คำปรึกษา วินิจฉัยปัญหาในโรงงาน และแนะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนดำเนินงานด้านการทดสอบ ตรวจสอบ อบรมและจัดทำโครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาสินค้านวัตกรรม โดยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป - ฝ่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรม
ฝ่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรมก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนางานคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรม มียุทธศาสตร์ด้านการฝึกอบรมบูรณาการการเรียนการสอนวิจัยและให้คำปรึกษาโดยมีหลักสูตรฝึกอบรมของฝ่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ หลักสูตรสกาดาระดับเชี่ยวชาญ (SCADA Expert) หลักสูตรการจำลองสถานการณ์ระบบการผลิตและธุรกิจบนคอมพิวเตอร์ (Simulation and Business Computer) หลักสูตรบริการวิชาการแก่ภาคการศึกษา (Free Training Courses for Academic Service)
นอกจากนี้ยังมีงานบริการจัดทำคู่มือหรือเอกสารประกอบการบริการวิชาการ ได้แก่
1. โปรแกรมสื่อช่วยการเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์
2. ตำรา อาทิเช่น คู่มือใบงานพีแอลซีควบคุมมอเตอร์เบื้องต้น เล่มที่ 1 และ 2
3. คู่มือ อาทิเช่น คู่มือประกอบการใช้งานพีแอลซี Modical M340 เป็นต้น
4. จัดทำชุดฝึก ชุดทดลอง อาทิเช่น ชุดฝึกทดลองการใช้งานพีแอลซี Modical M340 ยี่ห้อ Schneider Electric เป็นต้น - ฝ่ายวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ฝ่ายวิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งแคว้นลอแรนประเทศฝรั่งเศส และด้วยความร่วมมือระหว่าง Renewable Energy Research Centre (RERC), Thai-French Innovation Institute (TFII), King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB) ประเทศไทย ร่วมกับ Groupe de Recherche en Energie Electrique de Nancy (GREEN) และ Laboratoire Énergies & Mécanique Théorique et Appliquée (LEMTA) แห่ง Université de Lorraine ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการ Electrical Engineering – Thai French Research Center (EE-TFRC) โดยมีหัวข้อการวิจัย 1: Hydrogen as an energetic vector, 2 : Electric drives for e-mobility และ 3 : Isolated electrical networks and micro-grids
อีกทั้งยังเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับบริการวิชาการแก่นักศึกษา และมีความร่วมมือในด้านห้องปฏิบัติการ การเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาเอกสองปริญญา (Dual Degree Program) ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน (Electrical and Energy Engineering) ระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งแคว้นลอแรน (Université de Lorraine) กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ - ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมอัตโนมัติและพลังงานทดแทนสมัยใหม่
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมอัตโนมัติและพลังงานทดแทนสมัยใหม่ (TFII-Schneider Electric Center of Excellence) เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อฉลองครบรอบความร่วมมือ 35 ปี ในปี พ.ศ. 2568 ประกอบกับ บริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้วิศวกรจำนวนมากในการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนในอนาคตอันใกล้ หน่วยงานทั้งสองจึงมีแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Center of Excellence) ด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมอัตโนมัติและพลังงานทดแทนสมัยใหม่ สำหรับใช้ในการพัฒนานักศึกษา คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เพื่อผลิตกำลังคนให้มีความเชี่ยวชาญในระบบควบคุมอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม ระบบการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบบ้านอัจฉริยะ ระบบ SCADA และ IOT ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยศูนย์ดังกล่างจะจัดตั้งที่อาคารสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส
งานบริการวิชาการ
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
2,250 | 2,250 | 4,500 | 4,500 | 4,500 |
THB 2,250-4,500
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
1,500 | 1,500 | 3,000 | 3,000 | 3,000 |
THB 1,500-3,000
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
2,950 | 2,950 | 5,900 | 5,900 | 5,900 |
THB 2,950-5,900
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
2,950 | 2,950 | 5,900 | 5,900 | 5,900 |
THB 2,950-5,900
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
2,500 | 2,500 | 5,000 | 5,000 | 5,000 |
THB 2,500-5,000
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
2,500 | 2,500 | 5,000 | 5,000 | 5,000 |
THB 2,500-5,000
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
500 | 500 | 1,000 | 1,000 | 1,000 |
THB 500-1,000
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
1,500 | 1,500 | 3,000 | 3,000 | 3,000 |
THB 1,500-3,000
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
2,250 | 2,250 | 4,500 | 4,500 | 4,500 |
THB 2,250-4,500
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
1,250 | 1,250 | 2,500 | 2,500 | 2,500 |
THB 1,250-2,500
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
- | - | - | - | - |
THB -
บุคลากรภายในคณะ | ภายในมหาวิทยาลัย | สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ | เอกชน |
---|---|---|---|---|
- | - | - | - | - |